จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค เกี่ยวกับโรคไข้หูในบ้านเรา มีการดูสถานการณ์มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 22 มี.ค. 64 มีป่วยร่วมแล้ว 46 ราย ยอดผู้เสียชีวิต 3 ราย กลุ่มเสี่ยงส่วนมากเป็นคนสูงอายุและช่วงวัยทำงาน อายุระหว่าง  55-64 ปี รองลงมาคือผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีและอายุ 45-54 ปี ภาคที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือจังหวัดลำปาง จันทบุรีและพิจิตรตามลำดับ

ไข้หูดับ เป็นโรคติดต่อ ผ่านบาดแผล รอยถลอก และเยื่อบุตา จากการรับประทานเนื้อหมูดิบไม่สุกหรือเลือดหมูดิบ จะเริ่มมีอาการภายในไม่กี่ชั่วโมงถึง 5 วันหลังจากที่ทานอาหาร เมื่อเริ่มเป็นโรคไข้หูดับเราจะเริ่มมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะไม่สามารถทรงตัวได้ เริ่มอาเจียน กลืนลำบาก ถ่ายเหลว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวกถาวรข้ออักเสบเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังติดเชื้อรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดจนถึงขั้นเสียชีวิต

กรมควบคุมโรคจึงขอแนะนำวิธีการป้องกันโรคไข้หูดับคือ

  1. คนเลี้ยงหมูควรสวมรองเท้าและถุงมือทุกครั้งเมื่อทำงานในคอกหมู ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัส และหลีกเลี่ยงการจัดการซากสุกรที่ตายด้วยมือเปล่า
  2. ผู้ที่ทำงานในโรงงานฆ่าสัตว์. ควรสวมเสื้อและกางเกงที่มิดชิด สวมรองเท้าบู๊ตและถุงมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสุกรโดยตรงและห้ามนำอาหารเข้าปากขณะทำงาน
  3. ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ควรขายเนื้อหมูจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ทำความสะอาดแผงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกวันหลังจำหน่าย และเก็บเนื้อหมูเพื่อจำหน่ายในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 ° C

4.ผู้บริโภคควรรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น และซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาวหรือสีเข้มล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับเนื้อหมู

อย่างไรก็ตามหากมีไข้สูงปวดศีรษะอย่างรุนแร งเวียนศีรษะและทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหลังจากสัมผัสเนื้อหมูที่ป่วยหรือรับประทานอาหารที่ปรุงจากเนื้อหมูที่ยังไม่สุก ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการรับประทานเนื้อหมูดิบให้แพทย์ทราบ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วซึ่งจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้มากขึ้น

ที่มา thaihealth

Categorized in: